อ่านเล่นเล่น

ขายชื่อเว็บไซต์ โดเมนสวย

ขายชื่อเว็บไซต์ ขายชื่อโดเมน ชื่อดีย่อมมีชัยไปกว่าครึ่ง ปักหมุดชื่อธุรกิจบนโลกพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์กับ name4biz - All in dOt : nAb : Name4Biz&Sale Domain Name (Domain Name Aftermarket)

จะขายโดเมนทั้งที่ จดชื่อโดเมนไว้แล้ว ทำไมไม่เช่าเว็บโฮสติ้งไปด้วย แล้วทำเว็บซื้อขายให้สวย ๆ เป็นเรื่องเป็นราวไปเลย อืม...

  • ไม่อยากเพิ่มต้นทุน จ่ายค่าโดเมน+เว็บโฮสติ้ง+ออกแบบเว็บ = ราคาขายโดเมน... ไม่ใช่แนวเรา

  • ระบบการจัดการเนื้อหาของเว็บไซต์ (Content Management System : CMS) ฟรี ๆ มีให้ใช้เยอะแยะแต่ไม่สะดวกนั่งอัพเดทโน้นนั้นนี้ ไม่ใช่แนวเรา

  • สุดท้ายด้วยความสำเร็จรูป มั่นใจ ปลอดภัยเลือกมาลงที่ กูเกิลไซต์ / กูเกิลฟอร์ม แหละง่ายดี ฮา

ชีวิตจริง ผช. ต้อง ดำ แดง น้ำเงิน ให้ดูดุดัน ร้อนแรง เข้มแข็ง เกรี้ยวกราด แต่ทำไมเปิดหัวเป็นพาสเทล คือ อยากรู้สึกหลากหลาย ผ่อนคลาย เปิดกว้าง รับฟัง นุ่มนวลและโรแมนติกบ้าง ประมาณนั้น อิอิ...

กลับเข้าเรื่อง บ่นไปเรื่อยให้อ่านเล่น เกี่ยวกับ ชื่อ โดเมน ธุรกิจ ประมาณนั้น ดีกว่า...

ขายชื่อโดเมนสวย ขายชื่อเว็บไซต์สวย ด้วยสกุลเงินอะไร ?

หลังพิจารณาข้อมูลจากรายชื่อขายชื่อโดเมนสวย ขายชื่อเว็บไซต์สวย แล้วหลายท่านสงสัยว่าอักษรที่ต่อท้ายตัวเลข เช่น k หรือ M คืออะไร แล้ว THB คืออะไร

ตัวอักษรชุดที่ต่อท้ายตัวเลข คือ k, M เป็นชุดคำอุปสรรค ซึ่งเป็นคำนำหน้าหน่วยวัดพื้นฐานเพื่อแสดงการคูณ

k หมายถึง กิโล (kilo) คิดเป็นตัวคูณคือ 10 ยกกำลัง 3 ง่าย ๆ ก็แปลว่ามี 0 ต่อท้าย 3 ตัวนั้นเอง เช่น

  • 9k ก็หมายถึง 9,000 หมายความว่า 9 พัน

  • 89k ก็หมายถึง 89,000 หมายความว่า 8 หมื่น 9 พัน

  • 789k ก็หมายถึง 789,000 หมายความว่า 7 แสน 8 หมื่น 9 พัน

  • 8.9k ก็หมายถึง 2,200 หมายความว่า 8 พัน 9 ร้อย

  • 678.9k ก็หมายถึง 222,200 หมายความว่า 6 แสน 7 หมื่น 8 พัน 9 ร้อย

M หมายถึง เมกะ (mega) คิดเป็นตัวคูณคือ 10 ยกกำลัง 6 ง่าย ๆ ก็แปลว่ามี 0 ต่อท้าย 6 ตัวนั้นเอง เช่น

  • 9M ก็หมายถึง 9,000,000 หมายความว่า 9 ล้าน

  • 89M ก็หมายถึง 89,000,000 หมายความว่า 89 ล้าน

  • 789M ก็หมายถึง 789,000,000 หมายความว่า 789 ล้าน

ตัวอักษรชุดต่อมา คือ THB หมายถึง สกุลเงินตราประจำชาติของประเทศไทย โดยเงินบาทไทยมีสัญลักษณ์ คือ ฿ และใช้รหัสสากลตาม ISO4217 คือ THB เลขที่ 764 นั้นเอง

วงจรชีวิตชื่อโดเมน (Life Cycle of Domain Name) คืออะไร ?

วงจรชีวิตชื่อโดเมน คือ ระยะเวลาในช่วงต่าง ๆ ของชื่อโดเมนที่ควรทำความเข้าใจ เพราะหลายท่านจดชื่อโดเมนไว้เป็นจำนวนมาก จึงจำเป็นต้องมีการบันทึกช่วยจำ วางแผนและป้องกันการลืมต่ออายุชื่อโดเมน นั้นเอง

  • 1st / การจดชื่อโดเมน แจ้งจดได้ตั้งแต่ 1 - 10 ปี ช่วงนี้ชื่อโดเมนจะมีสถานะ ACTIVE # จะสามารถใช้งานได้เป็นปกติ

  • 2nd / ระยะเวลา 1 - 30 วัน หลังจากชื่อโดเมนหมดอายุ สถานะชื่อโดเมนจะเปลี่ยนเป็น REGISTRAR HOLD # จะสามารถต่ออายุโดเมนได้ ในราคาปกติ

  • 3rd / ระยะเวลา 31 - 75 วัน หลังจากชื่อโดเมนหมดอายุ สถานะชื่อโดเมนจะเปลี่ยนเป็น REDEMPTION PERIOD # จะไม่สามารถต่ออายุโดเมนได้ ต้องจ่ายค่าไถ่ถอน *

  • 4th / ระยะเวลา 76 - 80 วัน หลังจากชื่อโดเมนหมดอายุ สถานะชื่อโดเมนจะเปลี่ยนเป็น PENDING DELETE # จะหมดสิทธิทุกกรณี ไม่สามารถต่ออายุหรือไถ่ถอน

  • 5th / ระยะเวลาหลังวันที่ 80 ไปแล้ว ชื่อโดเมนจะถูกลบออกจากระบบและเปลี่ยนสถานะเป็น AVAILABLE # หากยังไม่มีใครแย่งจดก็จะมีสถานะว่าง สามารถจดใหม่ได้

ได้ครอบครองชื่อโดเมนสวย หรือ ชื่อเว็บไซต์สวย แล้วทำอะไรต่อไป ?

เมื่อตัดสินใจซื้อขายชื่อโดเมนสวย ซื้อขายชื่อเว็บไซต์สวย ที่ถูกใจแล้ว จัดเตรียมเนื้อหาที่จะลงแสดงในหน้าเว็บเพจให้พร้อม หลังจากนั้นก็เลือกใช้บริการเช่าพื้นที่เว็บโฮสติ้ง (ที่เก็บข้อมูลเว็บไซต์) จากผู้ให้บริการ และในปัจจุบันผู้ให้บริการยังติดตั้งระบบการจัดการเนื้อหาของเว็บไซต์ (Content Management System : CMS) เว็บสำเร็จรูปหลากหลายตัวเลือก ไม่ยุ่งยากหลายขั้นตอนเหมือนในอดีต ท่านก็จะมีเว็บไซต์ เว็บบอร์ด หรือบล็อกส่วนตัว แบบรวดเร็วพร้อมใช้งาน หลังจากนั้นก็ตั้งค่าให้ชื่อโดเมน ชี้มาที่ชุดหมายเลขไอพี (DNS - Domain name server) เท่านั้น เว็บไซต์ก็สามารถใช้งานได้แล้ว

เว็บโฮสติ้ง (ที่เก็บข้อมูลเว็บไซต์) กรณีเป็นผู้เริ่มต้น แนะนำทดลองเช่าเว็บโฮสติ้งแบบราคาไม่สูงมากนักแล้วค่อยเพิ่มงบประมาณตามความจำเป็นของปริมาณการใช้งาน ซึ่งเราสามารถเปลี่ยนผู้ให้บริการได้ตลอดเวลา ตามความต้องการและพึงพอใจ

ซับโดเมน (Subdomain) กับ ซับโฟลเดอร์ (Subfolder) มีความแตกต่างกันยังไง ?

  • ซับโดเมน (Subdomain) คือการแบ่งเว็บไซต์แยกจากชื่อโดเมนหลัก เช่น https://parked-domain.name4biz.com ถือว่า parked-domain เป็น subdomain เป็นต้น

  • ซับโฟลเดอร์ (Subfolder) หรือ Subdirectory คือการสร้างโฟลเดอร์ย่อยภายในชื่อโดเมนเดิม เช่น https://name4biz.com/parked-domain ถือว่า parked-domain เป็น subfolder เป็นต้น

การจัดทำเว็บไซต์แบบมีซับโดเมน (Subdomain) หรือซับโฟลเดอร์ (Subfolder) จะดีกว่า โดยตามทฤษฏีแล้วเสิร์ชเอนจินจะมองว่า ซับโดเมนเป็นคนละเว็บกับโดเมนหลัก แต่มองซับโฟลเดอร์ที่อยู่ในชื่อโดเมนเป็นเว็บเดียวกัน และซับโดเมนจะเป็น External Links ทำให้มีผลน้อยกว่า ซับโฟลเดอร์ที่จะเป็น Internal Links ที่อยู่ในเว็บไซต์เดียวกันนั้นเอง แต่ทีมงานอาวุโสของบริษัทกูเกิล ให้ความเห็นว่าจะซับโดเมนหรือซับโฟลเดอร์ก็ไม่มีความต่างกัน จะมีความสำคัญพอ ๆ กัน ทั้งนี้ขึ้นกับคุณภาพเนื้อหาในเว็บเพจนั้น ๆ มากกว่า ว่าจะมีคุณค่าและมีประโยชน์ต่อผู้อ่านหรือผู้ใช้งาน มากน้อยแค่ไหน

กรณีการใช้ซับโดเมนของเว็บไซต์ไทยก็มีให้เห็นทั่วไปในเว็บไซต์ขนาดใหญ่ ตามความเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ เช่น ใช้สำหรับแยกกลุ่มผู้ใช้งานให้ชัดเจน ใช้สำหรับให้บริการพื้นที่ส่วนบุคคล ใช้สำหรับสมาชิกเปิดร้านขยายสาขาในกลุ่มธุรกิจที่มีสินค้าตัวเดียวกัน หรือใช้สำหรับเว็บไซต์ที่มีหลายภาษา เป็นต้น

ชื่อโดเมน กับ ยูอาร์แอล ต่างกันยังไง ?

ยังมีข้อสงสัยว่า ชื่อโดเมน และ ยูอาร์แอล ใช่สิ่งเดียวกันหรือไม่ เริ่มจาก ชื่อโดเมน (domain name) คืออะไร ? กดไปอ่านได้จากส่วนนี้

ยูอาร์แอล (URL) หรือ Universal Resource Locator คือ ที่อยู่เว็บที่มีเนื้อหาสมบูรณ์ เป็นหน้าเว็บไซต์ที่ใช้อ้างอิงค้นหาแบบเฉพาะเจาะจง

ส่วนประกอบของยูอาร์แอล อาจแบ่งเป็น 4 ส่วน โดยประมาณดังนี้

  • ชื่อโปรโตคอล ปัจจุบันนิยมใช้เป็น HTTPS หรือ HTTP over SSL ย่อมาจาก Hypertext Transfer Protocol over Transport Layer Security (TLS) เป็นโปรโตรคอลที่สื่อสารด้วยการเข้ารหัสความปลอดภัย

  • ชื่อโดเมน (Domain Name)

  • นามสกุลของโดเมน เช่น .com .net .biz

  • ไดเร็กทอรี่ คือ ที่รวบรวมไฟล์เนื้อหา เช่น ข้อความ รูปภาพ วิดีโอ อื่นๆ ให้ผู้อ่านหรือผู้ใช้งานเห็นนั้นเอง

ตัวอย่าง https://www.name4biz.com/parked-domain จะเป็นยูอาร์แอล ดังนั้น name4biz.com คือชื่อโดเมน นั้นเอง